มะรุม |
ประโยชน์ของมะรุมนั้นช่างมากมายจริง ๆ จากบทความก่อนนี้ก็ 40 ข้อไปแล้ว
มาดูกันต่อเลยครับว่ามีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของมะรุม(ต่อ)
41. เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
42. ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
43. เมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน
ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ
(เมื่อขับเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
44. ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
45. ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
46. ช่วยในการขับปัสสาวะ(ใบ,ดอก)
47. ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
48. ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
49. ช่วยบรรทาอาการของโรคเก๊าท์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเก๊าท์ได้
50. ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
51. ช่วยรักษาโรครูมาติซั่ม
52. ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
53. น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
54. น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
55. ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
56. แก้อาการบวม (ราก,เมล็ด)
57. ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง และการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก
(น้ำมันมะรุม)
58. ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆน้อย ๆ
(ใบ,น้ำมันมะรุม)
59. ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย
(น้ำมันมะรุม)
60. ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
61. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ,ดอก)
62. ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ
ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
63. น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
64. ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
65. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
66. ช่วยฆ่าเชื่อไทฟอยด์ (ยาง)
67. ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง
(ยาง)
68. การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์
จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV
ของเด็กทารก
69. ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ
โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
70. ใบสดนำมารับประทานได้
ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
71. เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
72. เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
73. น้ำมันที่จากการคั้นเมล็ดสด
นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
74. น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก
แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
75. น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง
ๆประจำบ้าน และช่วยป้องกันสนิม
76. ประโยชน์มะรุมนิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่าง
แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก
ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
77. นำมาแปรรูปเป็น “มะรุมแคปซูล”
สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก
แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
78 นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม
ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย
ติดต่อกลับทางไลน์ด้วยค่ะ
ตอบลบYu4you_nice