วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

น้ำมันมะรุม

วิตามินในน้ำมันมะรุม


·         วิตามินเอ - มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน
·         วิตามินซี - มีส่วนช่วยในการลดเลือดริ้วรอย
·         วิตามินอี - ช่วยรักษาและบรรเทาอาการผื่นคัน


สรรพคุณที่สำคัญ

น้ำมันมะรุม

น้ำมันมะรุมบำรุงผิวพรรณ

          น้ำมันมะรุมพบมากในเครื่องสำอางเนื่องจากน้ำมันมะรุมทำให้ผิวชุ่มชื้น ทำความสะอาดและสรรพคุณช่วยให้ผิวนวล น้ำมันมะรุมสามารถใช้เป็นแชมพู ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม โลชั่น น้ำมันทาตัว(Body Oil) น้ำมันทาปาก ครีมลบเลือนริ้วรอยแห่งวัย ครีมทาหน้า สบู่ น้ำหอม และใช้ดับกลิ่นตัวได้   น้ำมันมะรุมยังถูกใช้ทำน้ำมันหอมระเหยและน้ำมันนวด เนื่องจากน้ำมันมะรุมผสมได้ดีกับน้ำมันหอมระเหยและสามารผสมกับส่วนผสมอื่นๆได้ดีเยี่ยม น้ำมันมะรุมสามารถซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ผิวพรรณเปร่งปรั่งดูสดใส


น้ำมันมะรุม


น้ำมันมะรุมช่วยรักษาผิวแห้ง


·         - น้ำมันมะรุมทำให้ผิวนุ่มและรักษาความชุ่มชื้นภายในผิว
·         - น้ำมันมะรุมมีประโยชน์ในการรักษาผิวที่หยาบกร้านและแห้ง  เช่น โรคผิวหนังบางชนิด กรากเกลื้อน และโรคสะเก็ดเงิน
     - น้ำมันมะรุมลดริ้วรอย
·         - น้ำมันมะรุมช่วยฟื้นฟูสภาพผิวที่เกิดริ้วรอย
·         -  สารแอนติออกซิแดนซ์ และสารอาหารในน้ำมันมะรุมช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นเหตุให้เนื้อเยื่อของผิวถูกทำลายและนำไปสู่การเกิดริ้วรอยในที่สุด
·         - ช่วยแก้ไขริ้วรอยที่เกิดขึ้นและการหย่อนคล้อยของผิวหนัง
·         - ฮอร์โมนของพืชที่เรียกว่าไซโตไคนิน ช่วยส่งเสริมการเกิดใหม่ของเซลล์ และชะลอความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อผิวหนัง
·         - วิตามินซีช่วยให้คอลลาเจน(Collagen)เสถียร ช่วยลดริ้วรอยและฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลาย


น้ำมันมะรุม


น้ำมันมะรุมช่วยป้องกันสิวและจุดด่างดำจากสิว

·         น้ำมันมะรุมช่วยจัดการสิวหัวดำและสิวหัวหนอง   เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยไม่ให้เป็นสิวซ้ำอีกช่วยลบเลือนจุดด่างดำที่เกิดจากสิว


น้ำมันมะรุมมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ

     น้ำมันมะรุมมีคุณสมบัติด้านการฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ และใช้ในการรักษาแผลเล็กน้อยได้เช่น
·         - แผลถลอก
·         - โดนข่วน
·         - มีดบาด
·         - ฟกช้ำ
·         - โดนไหม้เล็กน้อย
·         - แมลงกัดต่อย
·         - ผื่น
·         - ถูกแดดเผา
·         - การติดเชื้อที่ผิวหนังเล็กน้อย


น้ำมันมะรุม

สูตรลับความงามกับน้ำมันมะรุม
บำรุงผิวพรรณของคุณ - นวดน้ำมันมะรุมบนผิวจะช่วยให้ผิวเกิดความชุ่มชื้น
โทนเนอร์ให้ผิวชุ่มชื้น - โทนเนอร์นี้ใช้ได้กับผิวทุกแบบ วิธีทำคือ ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำมันมะรุม 2 ช้อนชา จากนั้นเก็บไว้ในขวดที่สะอาด  ใช้ตอนเช้าและตอนเย็นจะช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น
สครับขจัดเซลล์ผิวเก่า - ผสมน้ำตาลทายแดงกับน้ำมันมะรุมจะได้สครับที่มีความอ่อนโยนต่อผิว การสครับให้หมุนเป็นวงกลม และล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ผสมล้างเครื่องสำอางด้วยน้ำมันมะรุม - ผสมน้ำมันมะพร้าวครึ่งถ้วย น้ำมันมะรุมครึ่งถ้วย และน้ำมันจากต้นชาอีก 5 หยด จากนั้นเก็บไว้ในขวดที่สะอาด   ใช้สำลีชุบและเช็ดออกเบาๆ(การใช้สำลีแบบแผ่นจะช่วยให้ใยของสำลีไม่เข้าตา)












น้ำมันมะรุม

         น้ำมันมะรุม ได้รับการยกย่องว่าเป็นน้ำมันที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งถูกใช้สำหรับสุขภาพและความงามมามากกว่าศตวรรษ น้ำมันมะรุมถูกเขียนในวารสารต่างประเทศเพราะประโยชน์และสรรพคุณทางยา
ข้อมูลทั่วไปของน้ำมันมะรุม

          ต้นมะรุมมาจากประเทศอินเดียและประเทศในแถบหิมาลัย ในอินเดียน้ำมันมะรุมถูกใช้เป็นยาอายุรเวชและเป็นอาหาร ในตอนนี้ต้นมะรุมถูกปลูกอยู่ในหลายประเทศแล้วรวมถึงประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และแอฟริกา นอกจากจะใช้เป็นยาและอาหารแล้ว น้ำมันมะรุมยังถูกใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นให้กับเครื่องจักร และพลังงานเชื้อเพลิง
เมื่อเมล็ดของต้นมะรุมถูกบีบกดจะมีน้ำมันมะรุมสีเหลืองๆใสๆออกมา ซึ่งน้ำมันชนิดนี้เราจะเรียกกันว่าBen Oil หรือ Behen Oil เพราะมันมีความเข้มข้นของกรดเบเฮนนิค(Behenic Acid) และกรดไขมัน(Fatty Acid)สูงมาก เนื่องจากน้ำมันมะรุมมีสารแอนติออกซิแดนท์(Antioxidant)ที่คงความสดใหม่ให้กับเซลล์ตามธรรมชาติ มันจึงเป็นน้ำมันที่ความเสถียร(Stable), ป้องกันกลิ่นเหม็นหืน และมีอายุการใช้งานถึง 5 ปี น้ำมันมะรุมอุดมไปด้วยสารอาหาร มีสาร palmitoleic สูง, มี oleic และ linoleic acids, กรดไขมันที่ให้ความชุ่มชื้น(moisturizing fatty acids) และวิตามิน A และ C

ความลับความงามที่เก่าแก่

          ในกรุงโรม ของกรีก และประเทศอียิปต์โบราณ น้ำมันมะรุมเคยใช้ในการทำน้ำหอมและปกป้องผิว  น้ำมันยังถูกใช้ในการนวดแผนโบราณเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของดอกไม้ นำมาใส่ผมเพราะน้ำมันดูดซึมและคงกลิ่นเอาไว้ ในอียิปต์ น้ำมันมะรุมถูกใช้ทำเป็นครีมยา ขี้ผึ้ง(Salves) และใช้ป้องกันผิวจากสภาพอากาศที่เป็นทะเลทราย นอกจากนี้ชาวอียิปต์โบราณยังใช้น้ำมันมะรุมในพิธีกรรมทางศาสนาด้วย นักโบราณคดีพบขวดน้ำมันมะรุมในหลุมฝังศพเก่าแก่ของชาวอียิปต์โบราณ




มะรุม

          ประโยชน์ของมะรุมนั้นช่างมากมายจริง ๆ จากบทความก่อนนี้ก็ 40 ข้อไปแล้ว มาดูกันต่อเลยครับว่ามีอะไรบ้าง


ประโยชน์ของมะรุม(ต่อ)


41.        เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
42.        ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
43.        เมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
44.        ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
45.        ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
46.        ช่วยในการขับปัสสาวะ(ใบ,ดอก)
47.        ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
48.        ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
49.        ช่วยบรรทาอาการของโรคเก๊าท์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเก๊าท์ได้
50.      ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
51.      ช่วยรักษาโรครูมาติซั่ม
52.      ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
53.      น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
54.      น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
55.      ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
56.      แก้อาการบวม (ราก,เมล็ด)
57.      ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง และการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก (น้ำมันมะรุม)
58.      ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆน้อย ๆ (ใบ,น้ำมันมะรุม)
59.      ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำมันมะรุม)
60.      ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
61.      ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ,ดอก)
62.      ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
63.      น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
64.      ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
65.      ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
66.      ช่วยฆ่าเชื่อไทฟอยด์ (ยาง)
67.      ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง (ยาง)
68.      การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารก
69.      ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
70.      ใบสดนำมารับประทานได้ ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
71.      เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
72.      เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
73.      น้ำมันที่จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
74.      น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
75.      น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆประจำบ้าน และช่วยป้องกันสนิม
76.      ประโยชน์มะรุมนิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่าง แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
77.      นำมาแปรรูปเป็น มะรุมแคปซูลสำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
78       นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย





มะรุม


          ต้นฤดูหนาว เป็นฤดูกาลของฝักมะรุม ซึ่งจะหามาทำอาหารได้ง่าย ฝักมะรุมมีรสชาติอร่อยนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน ฯลฯ 
แต่มะรุมไม่ได้มีประโยชน์แค่มาทำเป็นอาหาร ทุกๆส่วนของต้นมะรุมล้วนมีสรรพคุณทั้งสิ้นไม่ว่าทางโภชนาการหรือสรรพคุณทางยา สามารถจำแนกออกได้ดังนี้


ประโยชน์ของมะรุม


1.        ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน
2.        มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม)
3.        ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
4.        ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ
5.        ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย (ฝัก)
6.        มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง (ใบ,ดอก,ฝัก,เมล็ด,เปลือกของลำต้น)
7.        ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
8.        ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
9.        ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
10.      ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
11.      มะรุม ลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ,ฝัก)
12.      ใช้รักษาโรคหัวใจ (ราก)
13.      มะรุม ลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล
14.      ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) (ยาง)
15.      ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
16.      ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์
17.      ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ดอก)
18.      ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ราก)
19.      ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ (เปลือกของลำต้น)
20.      แก้ลมอัมพาต (เปลือกของลำต้น)
21.      ใช้ขับน้ำตา (ดอก)
22.      ใช้บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตาให้สมบูรณ์
23.      ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค อย่าง โรคตาต้อ ตามืดมัว เป็นต้น
24.      ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคโพรงจมูกอักเสบ
25.      น้ำมันมะรุมใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อชาบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง (น้ำมันมะรุม)
26.      ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ,น้ำมันมะรุม)
27.      ใช้แก้ไข้ และถอนพิษไข้ (ใบ,ยอดอ่อน,ฝัก,เมล็ด)
28.      ใช้แก้อาการไข้หัวลม หรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู (ดอก)
29.      ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัด (เมล็ดมะรุม)
30.      ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น (เมล็ดมะรุม)
31.      ช่วยบรรเทาอาการและลดสิวบนใบหน้า (น้ำมันมะรุม)
32.      ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด (น้ำมันมะรุม)
33.      ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
34.      ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยาง)
35.      ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache) (ยาง)
36.      น้ำมันมะรุมใช้หยอดหูเพื่อป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ
37.      ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ
38.      ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
39.      นำเปลือกของลำต้นมาเคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร (เปลือกของลำต้น)

40.      ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ (เปลือกของลำต้น)

/ 41 ...


มะรุม


คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมต่อ 100 กรัม

·         พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
·         คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
·         ใยอาหาร 3.2 กรัม
·         ไขมัน 0.20 กรัม
·         โปรตีน 2.10 กรัม
·         น้ำ 88.20 กรัม
·         วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
·         วิตามินบี1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
·         วิตามินบี2 0.074 มิลลิกรัม 6%
·         วิตามินบี3 0.620 มิลลิกรัม 4%
·         วิตามินบี5 0.794 มิลลิกรัม 16%
·         วิตามินบี6 0.120 มิลลิกรัม 9%
·         วิตามินบี9 44 ไมโครกรัม 11%
·         วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
·         ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
·         ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
·         ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
·         ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
·         ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
·         ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
·         ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
·         ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ภญ.สุภาพร ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรีนายแพทย์ สุรวุฒิ  ปรีชานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคกระดูกและข้อ

มะรุม



คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมสดต่อ 100 กรัม

·         พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
·         คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
·         ใยอาหาร 3.2 กรัม
·         ไขมัน 0.20 กรัม
·         โปรตีน 2.10 กรัม
·         น้ำ 88.20 กรัม
·         วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
·         วิตามินบี1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
·         วิตามินบี2 0.074 มิลลิกรัม. 6%
·         วิตามินบี3 0.620 มิลลิกรัม 4%
·         วิตามินบี5 0.794 มิลลิกรัม 16%
·         วิตามินบี6 0.120 มิลลิกรัม 9%
·         วิตามินบี9 44 ไมโครกรัม 11%
·         วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
·         ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
·         ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
·         ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
·         ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
·         ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
·         ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
·         ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
·         ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)



มะรุม


          ในคัมภีร์ของศาสนาคริสต์กล่าวไว้ว่า มะรุมเป็นพืชที่สามารถรักษาโรคได้ดี ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ โรคปอดอักเสบ ฆ่าจุลินทรีย์ หรือเป็นยาปฏิชีวนะ และแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้เป็นยาได้ ไม่ว่าจะเป็น 
  •            รากมะรุม มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ 
  •            เปลือกจากลำต้นของมะรุม  มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค  ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ช่วยทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะแนะนำให้ใช้เปลือกมะรุมสด ๆ ตำบุบพอแตก ๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา 
  •            กระพี้ต้นมะรุม  แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม 
  •            ใบมะรุม  ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การนำใบมะรุมมาประกอบอาหาร เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูง ราคาถูกให้กับอาหารแบบพื้น ๆ บ้านได้ดีมาก 
  •            ดอกของมะรุม  ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย 
  •            ฝักมะรุม  รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้  
  •            เมล็ดมะรุม  นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊าท์ รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง  แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น  รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา 
  •            เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้ 
  •           นอกจากนี้กากของเมล็ดมะรุม ที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย

  •            ในต่างประเทศมีการค้นคว้า และวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ  

           - มีวิตามินเอ บำรุงสายตามากกว่าแครอท 3 เท่า  
           - มีวิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม  
           - มีแคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด  
           - มีโพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย  
           - มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมาก เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก  

          นอกจากนี้น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง 






ทดสอบลิงค์

ขับเคลื่อนโดย Blogger.