วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

น้ำมันมะรุม


วิธีการสกัดน้ำมันมะรุม  Seeds of Health


          การสกัดเย็น ด้วยเครื่องสกรูเพรส (Screw Press) น้ำมันสกัดเย็น คือ การแยกน้ำมันออกจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อนและสารเคมี แล้วตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจึงได้น้ำมันที่ใสบริสุทธิ์ และคงคุณค่าและสรรพคุณของของมะรุม
          วิธีการบีบอัดโดยเครื่องสกรูเพรส (Screw Press) น้ำมันมะรุมที่บีบออกมาโดยแรงบดไประหว่างสกรูในแนวนอน จนได้น้ำมันออกมา น้ำมันประเภทนี้จัดเป็นน้ำมันคุณภาพดี จะได้น้ำมันคุณภาพดี มีสี กลิ่น รส ตามธรรมชาติเพราะไม่ผ่านความร้อนเลย แต่จะมีความร้อนเกิดขึ้นจากแีรงเสียดสีระหว่างการบด ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้ ประมาณ 30-40% มากกว่าการสกัดด้วยไฮโดรลิก เมื่อได้น้ำมันจะต้องนำไปกรองด้วยกระดาษกรอง
วิธีการสกัด เริ่มจากการนำเมล็ดมะรุมจากฝักแก่มาตากแดด เพื่อไล่ความชื้น แล้วทำการบีบด้วยเครื่องบีบอัดระบบสกรูเพรส จากเมล็ดมะรุมแห้งปริมาณ 8-12 กิโลกรัม จะสกัดได้น้ำมันมะรุม 1 ลิตร  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องด้วย
          ข้อดีของน้ำมันมะรุมที่สกัดด้วยวิธีนี้ : จะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ช่วยลอไขมันพวกไตรกลีเซอไรด์ และลดคอเลสเตอรอลไม่ดีอีกด้วย



การสกัดน้ำมันมะรุมนั้นสามารถสกัดได้อีกหลายวิธี ดังนี้

          สกัดน้ำมันมะรุมโดยการเคี่ยว (Rendering) โดยการนำเมล็ดมะรุมแก่มาบดให้ละเอียด แล้วนำไปใส่กระทะ เติมน้ำสองเท่าของเนื้อเมล็ดมะรุมที่บดแล้วนำไปตั้งไฟให้เดือดแล้วหรี่ไฟลง หลังจากนั้นก็เคี่ยวกับไปพออ่อนๆ เคี่ยวจนน้ำมันแยกตัวออกมา ลอยตัวเหนือน้ำหรือเคี่ยวจนน้ำระเหยออกหมด ก็จะได้น้ำมันออกมา แล้วกรองแยกเอาน้ำมันมะรุมมาบรรจุขวด

          สกัดน้ำมันมะรุมโดยการกลั่น นำเมล็ดมะรุมในฝักแก่ มาบดละดอียดแล้วผสมน้ำ ต้มให้เดือด 5-10 นาที แล้วยกลงจากเตา นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วใส่ขวดหรือภาชนะที่มีทรงสูง ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อปล่อยให้น้ำมันแยกตัวเป็นชั้น จากนั้นจึงตักน้ำมันมากรองใส่ขวดเก็บไว้ ส่วนกากมะรุมที่เหลือนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ได้
แต่ข้อเสียของการสกัดน้ำมันมะรุมด้วยการเคี่ยว และกลั่น : ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักเพราะคุณภาพของน้ำมันยังไม่ ค่อยดีนัก เนื่องจากผ่านความร้อนเป็นเวลานาน กลิ่นไม่หอมมาก บางครั้งมีกลิ่นเหม็นไหม้ปนมากับน้ำมัน สภาพของน้ำมันเปลี่ยนไป เช่น เหม็นหืนเร็ว เมื่อนำมาทาตัวจะเหนียงเหนอะหนะ ซึมผ่านผิวหนังได้ยากกว่าน้ำมันที่สกัดโดยไม่ผ่านความร้อน

น้ำมันมะรุม


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทดสอบลิงค์

ขับเคลื่อนโดย Blogger.